นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งมี นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การต่างประเทศ เป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์นำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสำหรับการผลิตรถยนต์ ทั้งแบบสันดาปภายใน ไฮบริด และปลั๊กอินไฮบริด
ครอบคลุมทั้งกิจการเดิมและการลงทุนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงิน 50% ของเงินลงทุนในระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ และในกรณีที่โครงการใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อย 30% ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในวงเงิน 100% ของเงินลงทุนในระบบดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2567
“อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการส่งออก การจ้างงาน และจำนวนผู้ผลิตในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีจำนวนมากกว่า 2,300 ราย โดยปี 2565 ที่ผ่านมา ไทยมีการผลิตรถยนต์มากถึง 1.9 ล้านคัน เป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน และอันดับ 10 ของโลก ซึ่งขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังก้าวสู่ช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยีใหม่ มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ และสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีได้อย่างมั่นคง”
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าการส่งออกรวม 1.02 ล้านล้านบาท ขยายตัว 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีสัดส่วน 14% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด มีแรงงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม 8-9 แสนคน และมีจำนวนผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทานกว่า 2,300 ราย ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม แบ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์กว่า 20 ราย ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 จำนวน 530 ราย ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 1,750 ราย
“บอร์ดบีโอไอได้อนุมัติให้เร่งมาตรการแก้ไขอุปสรรคและอำนวยความสะดวกการลงทุนโดยเฉพาะการแก้ปัญหาผังเมืองในพื้นที่อุตสาหกรรม พร้อมจัดหาแหล่งที่ตั้งเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายอุตสาหกรรมอนคต เนื่องจากปัจจุบันผังเมืองในพื้นที่อุตสาหกรรมมีพื้นที่จำกัด จึงจำเป็นที่จะต้องขยายพื้นที่ เพื่อดึงดูคลื่นการลงทุนลูกใหญ่เข้ามาลงทุนในไทยหลังจากนี้”
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้อนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานบีโอไอในต่างประเทศ 3 แห่ง ได้แก่ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสิงคโปร์ ซึ่งทั้ง 3 ประเทศ ถือเป็นประเทศเป้าหมายสำคัญในการดึงการลงทุนมายังประเทศไทย โดยซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพด้านการลงทุนสูง เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ขณะที่นครเฉิงตู มณฑลเสฉวนของจีน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญในภาคตะวันตกของจีน โดยจีนเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ของไทย และมีการเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่องคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง